1. |
คำถาม: |
เลือกมอเตอร์อย่างไรถึงเหมาะกับประตูเรา? |
คำตอบ: |
การเลือกกำลังมอเตอร์ควรให้เหมาะสมกับ น้ำหนักประตู ไม่ควรเล็กหรือใหญ่จนเกินไป โดยเฉลี่ยน้ำหนักประตู ที่ใช้วัสดุทำจากเหล็กปนไม้จะมีน้ำหนักมาก โดยขนาดประตูที่สูง 2.5 ม. ยาว 1 เมตร หนักประมาณ 100 ก.ก. หากประตูยาว 6 เมตร ก็จะหนัก 600 ก.ก. หรือ ทางที่ดีควรสอบถามที่บริษัทเพื่อให้ส่งช่างไปดูหน้างานก่อน |
|
|
2. |
คำถาม: |
เวลาไฟฟ้าดับ ออกจากบ้านได้ไหม? |
คำตอบ: |
เมื่อไฟฟ้าดับ ให้นำกุญแจคลายล็อค เปิดลูกบิดกลมออก แล้วไขคลายประตู ตามรูปใน สมุดคู่มือการใช้งาน แนะนำให้เก็บลูกกุญแจ และเก็บสมุดคู่มือให้ดี หรือ Download ได้ในหน้า Product แต่ละรุ่น |
|
|
3. |
คำถาม: |
ทำไมประตูรีโมท มักจะเสีย ช่วงฤดูฝน? |
คำตอบ: |
อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดไม่ชอบ “น้ำ” ยิ่งต้องตากแดด-ฝนภายนอก มาตรฐานการติดตั้งเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนใหญ่ที่เจอเสียเกิดจาก ฉนวนของสายไฟที่ใช้เดินใต้ดินเสื่อม ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยจะเกิดอาการ ประตู “เปิด-ปิดเอง” ด้วยเหตุนี้ มอเตอร์ Type จึงมีระบบ ล็อค 2 ชั้น (Double Lock System) |
|
|
โดย เมื่อผู้ใช้กด Lock ที่รีโมท มอเตอร์จะล็อคประตูบ้านแบบถาวร ไม่ว่าสายสวิทช์กดในบ้านช็อตหรือรั่วจากความชื้น หรือแม้แต่มือเผลอไปโดนปุ่มเปิดประตูเข้า ประตูจะไม่เปิด นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถมั่นใจได้ว่า ระบบ Lock ทำงานอยู่ โดยสังเกตุที่ไฟกระพริบ สัญลักษณ์ Type กระพริบบนแผงสวิทช์กดในบ้าน ก็แสดงว่า ล็อคมอเตอร์อยู่ |
|
ปัญหาสายไฟรั่วเกิดจาก การใช้ชนิดของสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐานมาเดินไฟ เช่น สายเดี่ยว THW หรือ สายโทรศัพท์ ซึ่งสายพวกนี้มีราคาถูก เส้นเล็ก ฉนวนบาง 1 ชั้น เปราะ หักในง่าย ไม่ทนความชื้น เอาไว้ใช้ในงาน “ภายใน”อาคาร แต่ถ้าเป็นการเดินสาย “ภายนอก” อาคาร เช่นงานประตูรีโมท ต้องเป็นชนิด สาย VCT หรือ NYY ซึ่งมีราคาแพงกว่าสายเดินภายใน เส้นใหญ่สีดำ ฉนวนหนา 2 ชั้น ซึ่งทนความชื้นได้สูง มาตรฐานการเดินสายไฟ ก็มีส่วนสำคัญมากจุดหลักคือ ห้ามมีการตัด-ต่อสายไฟจากหัวถึงปลายสายโดยเด็ดขาด หรือ ถ้าหากต้องต่อสาย จะต้องต่อสายภายใน “กล่องพักสายแบบกันน้ำ” ห้ามตัด-ต่อสายแล้วร้อยท่อกลับเพื่อไม่ให้เห็นโดยเด็ดขาด เพราะจุดต่อนั้นจะช็อตเสียหายเมื่อมีความชื้นสูงเข้าไป ทำให้ต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด |
|
|
|
ปัญหา มด-แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เจอมากในฤดูฝน โดยสัตว์เหล่านี้จะเข้าไปทำรังใต้ตัวมอเตอร์ หรือ ที่แผงวงจรเพราะความอุ่นและแห้งของแผงวงจร ยิ่งถ้าใต้ฐานมอเตอร์มีช่องว่างโดยช่างติดตั้งมักจะไม่เทปูนปิดให้เต็ม ก็ยิ่งเข้าได้ง่าย ทำให้เกิดการเสียหายได้ มอเตอร์ Type จึงมีฝาครอบแผงวงจรถึง 2 ชั้น เพื่ปกป้องแผงวงจรจากสัตว์เหล่านี้ |
|
|
|
|
4. |
คำถาม: |
เปิดประตูไม่ออก ทำไงดี ระบบ Slow-Down ช่วยได้ยังไง? |
คำตอบ: |
ประตูรีโมทรุ่นเก่าที่ ไม่มีการปรับความเร็ว มักจะเจอปัญหา ประตูวิ่งเข้าไปอัดกับเสารับ แล้วดึงเปิดประตูไม่ออก ต้นเหตุที่เกิดอาการแบบนี้ เพราะประตูวิ่งด้วยความเร็วสูง เมื่อต้องการให้หยุดทันที ประตูยังมีแรงเฉื่อยอยู่มากทำให้ประตูวิ่งไถลต่อไปอีก ทำให้การหยุดแต่ละครั้งไม่คงที่ ประตูจึงวิ่งเข้าไปอัดกับเสารับ ระบบประตูรีโมท Type จึงพัฒนาระบบ ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ Slow-Down แบบ 3 Speed โดยก่อนประตูจะวิ่งปิด หรือเปิดสุด มอเตอร์จะปรับลดความเร็วประตูลงครึ่ง เพื่อให้ประตูวิ่งช้าๆ และหยุดได้ในตำแหน่งที่แม่นยำทุกครั้ง ไม่มีการไถลเลยเข้าไปอัดกับเสารับ |
|
|
5. |
คำถาม: |
หากเอามือไปดันประตู ขณะกำลังปิด ประตูจะหนีบหรือไม่? |
คำตอบ: |
ขณะประตูกำลังปิด หากมีสิ่งกีดขวาง หรือเอามือดันแรงๆ ประตูจะหยุด แล้วถอยหลังกลับ แต่เพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้ ควรแนะนำให้ติด ระบบ Infrared Foto เพราะประตูเปิดกลับ “ก่อน”ชนสิ่งกีดขวาง |
|
|
6. |
คำถาม: |
มอเตอร์กินไฟ AC กับ DC ต่างกันยังไง อะไรดีว่ากัน? |
คำตอบ: |
มอเตอร์ AC กินไฟกระแสสลับ 220V ส่วนมอเตอร์ DC กินกระแสตรง 12V ที่ผ่านจากแบตเตอรี่ คุณสมบัติที่ดีของ มอเตอร์ AC ให้กำลังมากและทนทาน ใช้ได้กับประตูทุกประเภท เพราะเป็นมอเตอร์อุตสาหกรรม เมื่อเปรียบเทียบในสัดส่วนกำลังที่เท่ากัน มอเตอร์AC ราคาถูกกว่า มอเตอร์ DC ดังนั้นเพื่อให้ราคามอเตอร์ DC ในประตูรีโมท (เทียบเท่า มอเตอร์ AC) จะมีขนาดเล็กกว่า AC มาก ให้มีกำลังน้อย ใช้กับงานเบาๆ ประตูเล็กๆ และต้องเปลี่ยน แบตเตอรี่ ทุกปี
ผู้ใช้มักเข้าใจผิด กลัวว่า หากเกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร ในมอเตอร์ AC 220V แล้วไฟดูดตาย แต่มอเตอร์ DC แรงต่ำ ไฟดูดไม่ตาย นี่เป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะ มอเตอร์ ทั้งสองชนิด AC และ DC กินไฟจากแหล่งไฟที่เดียวกัน คือ จากไฟบ้าน 220V เพียงแต่ว่า มอเตอร์ AC นำไฟ 220V ไปใช้งานเลย ในขณะที่ มอเตอร์ DC นำไฟ 220V ไปผ่านหม้อแปลงให้เป็น 12V ดังนั้นโดยสรุป มอเตอร์ทั้งคู่ ไฟไม่ดูดตายเพราะ ตัวถังมอเตอร์ของทั้ง 2 แบบ เองก็มี “สายดิน” ไว้ป้องกันอยู่แล้ว มีความปลอดภัยสูง
มอเตอร์ Type เป็น AC กำลังสูง เหมาะกับ ประตูบ้านที่ขนาด ต่ำกว่า 8 เมตรลงมา และหากต้องการ แบตเตอรี่สำรองก็สามารถ ติดตั้ง UPS แบตเตอรี่สำรอง ได้ เช่นกัน |
|
|
7. |
คำถาม: |
มอเตอร์ เกียร์ แบบ แห้ง กับ แช่น้ำมัน ต่างกันยังไง อะไรดีว่ากัน? |
คำตอบ: |
ระบบเกียร์ ทั้งสองแบบ ดีทั้งคู่ เพียงแต่เหมาะกับงานที่ต่างกัน มอเตอร์เกียร์แบบ แห้ง คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์เคลือบด้วย “จารบี” โดยใช้จารบีเป็นตัวหล่อลื้น และใช้ อากาศ ในการระบายความร้อน ข้อดีคือ ไม่ต้องการการดูแล เพราะไม่มีจารบีรั่ว ส่วนข้อเสียคือ ใช้งานไม่ได้บ่อย เพราะมอเตอร์จะร้อนเร็ว จึงเหมาะ กับประตูบ้านทั่วไปที่เปิดปิดไม่เกิน 15 ครั้ง/ชั่วโมง
มอเตอร์เกียร์น้ำมัน คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์ แช่อยู่ในน้ำมัน โดยใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื้น ลดการสึกหรอของเกียร์ และ ระบายความร้อน ได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ มอเตอร์ราคาแพง และต้องดูว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ เพราะใช้ไปนานๆ ยางซีลกันรั่วต่างๆ หมดอายุต้องเปลี่ยน โดยมาก ระบบเกียร์ในน้ำมันจะใช้กับมอเตอร์ประตูโรงงานใหญ่ขนาด 8-15 เมตร ที่ต้องเปิด-ปิดบ่อย เช่น เปิด-ปิดมากกว่า 15 ครั้ง/ชั่วโมง
มอเตอร์ Type มีทั้งระบบน้ำมัน และแบบแห้ง โดยแบบแห้งจะใช้ จารบีพิเศษ (Molytinum – โมลิตินั่ม) ซึ่งเป็นสาร หล่อลื่นที่ ทนความร้อนได้สูงมาก (เช่นใช้ในเบรกรถยนต์) อายุการใช้งานนาน ไม่ต้องดูแลรักษา จึงเหมาะกับบ้านพักอาศัย ส่วน มอเตอร์แบบน้ำมันจะเน้นใช้กับ ประตูขนาดใหญ่ หรือที่มีการเปิด-ปิดบ่อยๆ |
|
|
8. |
คำถาม: |
กินไฟเยอะไหม? |
คำตอบ: |
ถ้าเปิด-ปิดประตูโดยเฉลี่ย สำหรับ บ้านที่มีรถ 2-3 คัน อัตราการกินไฟ อยู่ที่ประมาณ 3-4 บาท/เดือน เพราะมอเตอร์จะกินไฟ เฉพาะตอนประตูเปิด-ปิด |
|
|
9. |
คำถาม: |
ระยะกดรีโมท ใช้งานได้ไกล แค่ไหน? |
คำตอบ: |
โดยเฉลี่ย รีโมท ที่มีการเดินสายอากาศจะรับได้ 30-100ม. แต่การกดรีโมท เพื่อเปิดประตูจากระยะไกล จะไม่ปลอดภัย เพราะเราไม่เห็นประตู อาจจะมีใครอยู่หน้าบ้าน หรือ อาจมีรถของเราจอดขวางอยู่ ถ้าเรากดอีกปะตูจะปิดกลับมาชนรถได้ แนะนำให้กดเมื่อเห็นประตูเท่านั้น |
|
|
10. |
คำถาม: |
เมื่อประตูปิดแล้วต้องใส่กุญแจเพิ่มอีก หรือไม่? |
คำตอบ: |
เมื่อประตูปิดสุด ประตูจะล็อคโดนอัตโนมัติ ไม่ควรใช้กุญแจไปคล้องเพิ่ม เพราะถ้าเผลอกดรีโมทเปิดประตู ในขณะที่มีกุญแจคล้องอยู่ จะทำให้มอเตอร์และประตูชำรุดเสียหาย นอกจากนี้ มอเตอร์ Type ยังมีระบบ ล็อค 2 ชั้น ซึ่งช่วยล็อคป้องกันประตูให้อีกชั้นอยู่แล้ว |
|
|